วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

รายงานการจัดกิจกรรม การพัฒนาภาษา

ข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก
ชื่อ .. น้องฟางข้าว..
อายุ .. 4 ขวบ..
สถานที่จัดกิจกรรม .. สถาบัน ควอลิตี้ คิดส์..
สรุปผลจากการปฎิบีติกิจกรรมในครั้งนี้
น้องฟางข้าว ให้ความร่วมมือดีมาก การออกเสียงอักขระ คำควบกล้ำชัดเจน
มีความมั่นใจในตัวเอง สนใจที่แสดงท่าทางประกอบมาก

..วิพาวดี ลิ่มมโนชฌ์ (ผู้ดำเนินกิจกรรม)

เริ่มดำเนินกิจกรรม


ทักทายพูดคุยกัน "พูดโน้มน้าว"

เริ่มอยากร้องเพลง และเริ่มสนิทกันในระดับหนึ่ง

ทำการสอนแบบตัวต่อตัว

ท้วนอีกรอบ เพื่อความชัดเจน

เริ่มดำเนินกิจกรรม


ทำท่าทางประกอบ (อย่างสนุกสนาน)

เสนอกิจกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาภาษา

การแนะนำตัว
เตรียมตัว (ผู้สอน)
- ดูแลร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนการดำเนินกิจกรรม
- ค้นหาเพลง
- ฝึกร้อง
- ฝึกทำท่าประกอบเพลง
เตรียมสื่อ
- เพลง
- ท่าทาง
เตรียมกิจกรรม
- พูดจาทักทายกันระหว่าง ผู้สอน-เด็ก
- พูดโน้มน้าว ดึงดูดให้เด็กอยากจะร้องเพลง
- สอนเนื้อร้อง (ออกเสียงอักขระ ควบกล้ำ ถูกต้อง)
- ฝึกให้เด็กร้อง โดยร้องให้เด็กฟังก่อน แล้วจึงฝึกให้เด็กร้องตาม
- ร้องพร้อมกันกับเด็ก
- ร้องโต้ตอบกัน
- เพิ่มท่าทางประกอบเพลงให้เด็กดู
- ฝึกให้เด็กทำท่าทางประกอบเพลง
- ร้องเพลงพร้อมประกอบท่าทางให้เด็กดู
- ฝึกให้เด็กทำตาม
- ผู้สอนและเด็ก ร้องเพลงประกอบท่าทางพร้อมกัน (โต้ตอบกัน)

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

มุขภาษา"ภาษาพูด"


เด็กจะทำเสียงแสดงความรู้สึกต่างๆ ร้องไห้เมื่อไม่พอใจ หัวเราะเอิ๊กอ๊ากเมื่อพอใจ ซึ่งเมื่อพูดได้ใหม่ๆเด็กมักจะออกเสียง
"อา" เป็นเสียงที่เปล่งลมออกมาได้โดยไม่สกัดกั้น อันเป็นสื่อที่เปล่งออกมาควบคู่ไปกับความรู้ส฿กที่แน่นอน มากกว่า
เป็นการสื่อความหมาย และเสียงจะเปล่งได้หลากหลายขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กสามารถเคลื่อนที่ไปมาด้วยการยืนตรง หรือ
เด็กจะสามารถพูดเป็นคำได้ต่อเมื่อเดืนได้แล้ว
..เด็กเรียนรู้ภาษาได้อย่างไร..
เด็กมีความสนใจที่จะเรียนรู้ภาษาในระดับที่แตกต่างกัน เช่น
เด็กบางคนจะเพียงแค่ดูดซับภาษาที่อยู่รอบตัว เลียนแบบทุกอย่างที่ได้ยินเหมือนนกแก้วนกขุนทอง
เด็กบางคนจะคิดวิธีการสื่อภาษาของตนขึ้นมาเอง จะใช้ทั้งการเลียนคำเรียกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว
เด็กบางคนจะพูดจาสับสนเป็นเวลานาน ไม่สามารถที่จะดูดซับในเรื่องของภาษา(เป็นสัญญาณบอกถึงความสามารถที่ล้าหลัง)
แต่พบว่าเด็กในลักษณะนี้มักจะมีความสามารถในเรื่องของการใช้สายตา แสดงให้เห็นถึงความสามารถในภาครับ(ดู อ่าน ฟัง)
และภาคแสดง(พูด ทำท่าทาง)ที่แตกต่างกัน
..วิธีการเรียนรู้ของเด็ก..
ขั้นแรกเริ่มจากเรียกชื่อวัตถุต่างๆที่เด็กพบ และมีอยู่รอบตัว เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่เด็กมีต่อโลก
จากการที่เขาเริ่มก้าวเข้าสู่โลกภายนอก และเรียนรู้ว่ามีสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับตนเองบ้าง
ขั้นต่อมาจึงเรียงคำเพื่อให้เป็นประโยค เป็นการแสดงให้เห็นว่ากระบวนการในการคิดที่เริ่มเกิดขึ้น เกิดการพัฒนาความคิดรวบยอด
ให้สอดคล้องกับสิ่งที่พูด คือระบุว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ที่แสดงถึงความหมายทั้งหมดของสิ่งที่ต้องการกล่าวถึง
การพูดของเด็กเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้อย่างฉับพลันและน่าประหลาดใจ

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เล่นเกมเพื่อช่วยพัฒนาภาษา

เราอาจใช้การเล่นเกมง่ายๆมาช่วยพัฒนาภาษาให้เด็ก ทั้งในด้านความเข้าใจ การฟัง
การแยกแยะเสียงต่างๆ เช่น
เกมร่างกายของหนู.....สอนให้เด็กรู้จักชื่อของอวัยวะของร่างกาย
เพราะเด็กช่วงนี้จะสนใจตัวเองมากอยู่แล้ว อาจจะบอกให้เด็กทำตามคำสั่ง
"โบกมือ""หลิ่วตา""ยักคิ้ว""ส่ายสะโพก"(ทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน )
ฟังเสียงที่เกิดขึ้นเป็นประจำ....เพื่อหัดการฟังและแยกแยะเสียงที่แตกต่างกัน
เสียงรถมอเตอไซ เลียงนาฬิกา
ฟังเสียงสัตว์....ให้ลองเลียนแบบเสียงสัตว์เหล่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

อวจนภาษา "ภาษาท่าทาง"


การสื่อสารแรกของเด็กกับเด็กคนอื่นเป็นการสื่อสารผ่านการกระทำ
การสื่อสารของเด็ก จึงถือเป็นศาสตร์ลี้ลับเพราะเด็กใช้ภาษาท่าทาง และ
การสาธิตผ่านการใช้ร่างกายมากกว่าคำพูด การที่จะเข้าใจภาษาของเด็กเล็กนั้น
จึงไมใช่เพียงแต่ฟังคำพูด แต่ต้องดูถึงการชี้ การเคลื่อนไหวขึ้นลง และ
การโบกของร่างกาย ท่าทางของเด็กจึงบอกมากกว่าสิ่งที่เด็กพูด ภาษาท่าทาง
จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการสื่อความคิดเห็นของเด็ก

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551

อุปสรรคของพัฒนาทางภาษา


1.ด้านร่างกาย คือร่างกายไม่แข็งแรงตั้งแต่แรกเกิด หรือได้รับอุบัติเหตุตอนยังเล็ก

2.ด้านสิ่งแวดล้อม คือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เอื้อให้เด็กใช้ภาษา ทั้งเป็นบุคคล

และสถานที่